ชมนิทรรศการ “ศตวรรษแห่งการขับเคลื่อน” ในงาน Motor Expo 2017

ชมนิทรรศการ “ศตวรรษแห่งการขับเคลื่อน” ในงาน Motor Expo 2017
30 Nov 2017
ชมนิทรรศการ “ศตวรรษแห่งการขับเคลื่อน”   ในงาน Motor Expo 2017

สมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย จัดนิทรรศการในงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34” ภายใต้แนวคิด “ศตวรรษแห่งการขับเคลื่อน” (A Century of Motoring) แสดงยานยนต์ 7 ยุค ที่สะท้อนความเป็นไปของโลกในรอบ 100 ปี

1. “BLACK” HIGH WHEELER 

รถม้าที่ไร้ม้าเทียม

ประเภทรถ : รถรุ่นบรรพบุรษปีที่ผลิต : 1904

จำนวนผลิต : 18 คัน

ประเทศผู้ผลิต : สหรัฐอเมริกา

เครื่องยนต์ : 2 สูบนอน ความจุ 852 ซีซี 18 แรงม้า

ยานยนต์ในสมัยแรกสุดของซีกโลกสหรัฐอเมริกา ผลงานของ Black Manufacturing Company แห่งชิคาโก อิลลินอยส์ จำหน่ายโดย Sear, Roebuck & Company ระหว่างปี 1904-1912 ในช่วงเดียวกับที่

เฮนรี ฟอร์ด ประดิษฐ์รถยนต์ ฟอร์ด คันแรก โดยพัฒนาจากแนวคิดเดียวกับรถเทียมม้าแบบดั้งเดิม จึงได้ชื่อว่าเป็น “เกวียนยนต์” หรือ “Horseless Carriage”

ตัวรถมี 2 แบบ คือ “Chicago Motor Buggy” รุ่นเล็ก ฐานล้อ 69.5 นิ้ว เครื่องยนต์ให้กำลัง 14 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 40 กม./ชม. อัตราสิ้นเปลือง 12.7 กม./ลิตร ส่วน “Black” High Wheeler เป็นรุ่นใหญ่ ฐานล้อ 75 นิ้ว เครื่องยนต์วางใต้แคร่กลางลำ แบบ 2 สูบนอน ความจุ 52 ลูกบาศก์นิ้ว (ประมาณ 852 ซีซี) กำลัง 18 แรงม้า ขับเคลื่อนล้อหลังด้วยโซ่ ใช้ล้อรถม้าขอบบางขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว คาดแถบยางตัน ขณะนี้คงสภาพเดิมเหลือเพียง 13 คันทั่วโลก

 

2. OVERLAND MODEL 40 ROADSTER

ศักดิ์ศรีของผู้ผลิตรถแข่ง

ประเภทรถ : รถรุ่นผ่านศึกปีที่ผลิต : 1910

จำนวนผลิต : 751 คัน

ประเทศผู้ผลิต : สหรัฐอเมริกา กลุ่มผู้ผลิต ต่างเมืองดีทรอยท์

เครื่องยนต์ : 4 สูบ 4,188 ซีซี 40 แรงม้า

รถยนต์ โอเวอร์แลนด์ โมเดล 40 โรดเตอร์ รุ่นปี 1910 ผลิตจากอินเดียนาโพลิส เมืองแห่งรถแข่งในสหรัฐอเมริกา ออกแบบโดยผู้สร้างรถแข่งแพคการ์ดที่โด่งดัง คงศักดิ์ศรีของรถแข่ง ด้วยมาตรฐานการผลิตที่ละเอียด แม่นยำ เทคโนโลยีนำสมัยกว่ารถในยุคเดียวกัน และก้าวหน้ากว่ารถยนต์จากเมืองดีทรอยท์อย่างเห็นได้ชัด มีการริเริ่มใช้โลหะผสมนิคเคิลโครเมียม วานาเดียม และเหล็กกล้า รวมถึงกระบวนการหล่อโลหะที่นำสมัยในการผลิตเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นแบบ 4 สูบ 4,188 ซีซี 40 แรงม้า

 

3. AUSTIN SEVEN

รถเล็กสารพัดประโยชน์

ประเภทรถ : รถโบราณปีผลิต : 1922-1939

จำนวนผลิต : 290,000 คัน

ประเทศผู้ผลิต : อังกฤษ

เครื่องยนต์ : 4 สูบ 696 ซีซี 7แรงม้า

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 Herbert Austin ออกผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กจิ๋วใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ในราคาเท่ากับจักรยานยนต์พ่วงข้าง คนนับล้านบนเกาะอังกฤษจึงได้มีโอกาสเป็นเจ้าของรถยนต์ 4 ล้อ ที่ใช้สร้างเหล็กเหนียว และอลูมิเนียมแผ่น ประกอบบนโครงไม้ ASH ที่เบาเป็นพิเศษ "รถขนาด 7 แรงม้าภาษี" คันนี้จึงเป็นได้ทั้งรถใช้ในชีวิตประจำวัน รถขนส่งสินค้า และรถแข่ง !

หลายประเทศนำ ออสติน เซเวน ไปผลิต ทั้งโดยซื้อลิขสิทธิ์ เช่น Rosengart แห่งฝรั่งเศส, American Austin แห่งสหรัฐอเมริกา และ BMW แห่งบาวาเรีย ที่จำหน่ายในชื่อ "BMW Dixie" และโดยไม่มีลิขสิทธิ์ เช่น Datsun แห่งประเทศญี่ปุ่น

 

4. MG TA

รถแข่งในคราบสปอร์ท

ประเภทรถ : รถก่อนสงครามปีที่ผลิต : 1936

จำนวนผลิต : 3,003 คัน

ประเทศผู้ผลิต : อังกฤษ

เครื่องยนต์ : 4 สูบเรียง 1,250 ซีซี 54 แรงม้า ระบายความร้อนด้วยน้ำ

รถสปอร์ทเปิดประทุนขนาดกะทัดรัดของ เอมจี (Morris Garage) แห่งเมืองอบิงดัน ประเทศอังกฤษ ผลิตจำหน่ายก่อนเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2  มีจำนวนน้อย ทรงคุณค่า หาได้ยากมาก

ตัวถังรถเป็นโลหะติดตั้งลงบนโครงคานแชสซีส์ ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบเรียง 1,250 ซีซี วาล์วอยู่เหนือฝาสูบเปิดผ่านก้านกระทุ้งใช้คาร์บูเรเตอร์แบบขวดของ SU คู่ เช่นเดียวกันกับรถแข่ง ให้กำลังจริง 54 แรงม้า ที่ 5,200 รตน. ทำงานเรียบลื่น ตอบสนองการขับขี่แบบสปอร์ท ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 140 กม./ซม. ซึ่งจัดว่าเร็วมากในยุคนั้น

 

5. JAGUAR MK V 4-DOOR SALOON

แมวป่าตัวใหญ่ สุดปราดเปรียว

ประเภทรถ : รถหลังสงครามปีที่ผลิต : 1945-1951

จำนวนผลิต : 9,499 คัน

ประเทศผู้ผลิต : อังกฤษ

เครื่องยนต์ : 6 สูบแถวเรียง ความจุ 2.5 และ 3.5 ลิตร 105 และ 125 แรงม้า

มาร์ค ไฟว์ เป็น แจกวาร์ รุ่นใหญ่แบบแรกในช่วงปี 1945  หลังโรงงานที่โคเวนทรีพ้นภาระจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 ได้ชื่อรุ่นว่า “ลำดับ 5” เนื่องจากเป็นรถต้นแบบคันที่ 5 ในการพัฒนา โครงสร้างตัวถังแข็งแกร่ง ใช้ระบบรองรับด้านหน้าแบบอิสระเป็นครั้งแรกของ แจกวาร์ ทำให้บังคับควบคุมได้แม่นยำ ทรงตัวดีเยี่ยม ส่วนด้านหลังใช้สปริงแผ่นที่นุ่มนวลเป็นพิเศษ พร้อมคานอิสระ ระบบห้ามล้อแบบดุม ทำงานด้วยไฮดรอลิคของ Girling รอบทิศ ล้อขนาด 16 นิ้ว เครื่องยนต์ 6 สูบแถวเรียง วาล์วอยู่เหนือฝาสูบ ความจุ 2.5 และ 3.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 105 และ 125 แรงม้าตามลำดับ ที่ 4,500 ตรน. เกียร์ธรรมดา 4 จังหวะล้ำสมัยของ Moss ความเร็วสูงสุด 147 กม./ชม.

 

6. TRIUMPH TR3A

รถตลาด พลังสูง เทคโนโลยีล้ำสมัย

ประเภทรถ : รถคลาสสิคปีที่ผลิต : 1957-1961

จำนวนผลิต : TR3 และ TR3A 58,236 คัน

ประเทศผู้ผลิต : อังกฤษ

เครื่องยนต์ : 4 สูบเรียง 1,991 ซีซี OHV 100 แรงม้า ระบายความร้อนด้วยน้ำ

ช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทไรอัมฟ์ บริษัทผู้สร้างรถแข่งของอังกฤษ ได้นำประสบการณ์มาผลิตรถสปอร์ทขนาดเล็ก รูปร่างตามพิมพ์นิยมของรถแข่งในยุค 50 หน้ารถสูง ไฟตากบ มีช่องรับอากาศด้านหน้ารถขนาดใหญ่ ด้านท้ายเรียวต่ำแขวนไว้ใต้เพลาหลัง กระจกบังลมหน้าแบบรถแข่ง พับลงราบ และถอดออกได้ ประตูเป็นแผ่นบางเรียบ ไม่มีกลไกหน้าต่างเพื่อความเบา ใช้แผ่นพลาสติคแข็ง ตั้งเสียบบนแผ่นประตูแทนกระจกหน้าต่าง

จุดเด่นอยู่ที่เครื่องยนต์ 4 สูบ OHV นำสมัย ของบริษัทสแตนดาร์ด ติดตั้งคาร์บูเรเตอร์รูปขวด SU H6 แบบ 2 ตัวคู่ ที่ให้กำลังถึง 100 แรงม้า ซึ่งถือว่าสูงในยุคนั้น เหนือว่ารถอังกฤษ 4 สูบทุกยี่ห้อ แม้เจ้าสนามแข่งอย่าง โพร์เช 356 รุ่นทั่วๆ ไป ก็ยังมีกำลังต่ำกว่า เกียร์ 4 จังหวะ สามารถเพิ่มจังหวะเกียร์ทดพิเศษได้อีก 3 จังหวะ (Overdrive) ด้วยปุ่มไฟฟ้าโดย Laycock De Normanville TR3A เป็นรถตลาดของอังกฤษแบบแรก ที่ใช้ระบบจานเบรคที่ล้อหน้า

 

7. FERRARI 308 GTB

สปอร์ทหุ่นเซกซี เครื่องวางกลางลำ

ประเภท : รถคลาสสิคร่วมสมัยปีผลิต : 1975-1985

จำนวนผลิต : 4,339 คัน

ประเทศผู้ผลิต : อิตาลี

เครื่องยนต์ : วี 8 สูบ 2,927 ซีซี 236 แรงม้า

สปอร์ท แฟร์รารี รุ่นเล็ก วางเครื่องกลางลำ ต่างจาก GT อันเป็นหัวขบวนที่วางเครื่องหน้า ชื่อรุ่น 308 หมายถึง เครื่องยนต์ 30 เดซิลิตร (ประมาณ 3,000 ซีซี) วี 8 สูบ ตัวย่อ GTB มาจากคำว่า Gran Turismo (รถสปอร์ทเพื่อเดินทางไกล) และ Berlinetta (ตัวถังฐานล้อสั้นเพื่อความว่องไว) เป็นนามที่ระบุคุณสมบัติของรถได้ครบถ้วน ผลิตตัวถังโดยโรงงาน Scaglietti เป็นการขยายตลาดครั้งใหญ่ของบแรนด์ ด้วยเครื่องยนต์พลังแรง เสียงหวาน ในตัวถังทรงเซกซีที่ออกแบบโดย เลโอนาร์โด ฟีโอราวันตี แห่งสำนักปินินฟารีนา 

308 GTB บัญญัติรูปทรงสมบูรณ์แบบของรถสปอร์ท เครื่องวางกลางลำให้แก่โลกรถยนต์ยาวนานกว่า 30 ปี แม้ผู้มาทีหลังอย่าง ฮอนดา เอนเอส-เอกซ์ ยังต้องยึดถือเป็นแม่พิมพ์

 

8. FERRARI 328 GTS

ขวัญใจยัพพีแห่งยุค 80

ประเภท : รถคลาสสิคร่วมสมัยปีผลิต : 1985-1989

จำนวนผลิต :  7,400 คัน (รวมทุกแบบ)

ประเทศผู้ผลิต : อิตาลี

เครื่องยนต์ : วี 8 สูบ 3,186 ซีซี 270 แรงม้า

แฟร์รารี จีทีเอส คือ สัญลักษณ์ของเหล่ายัพพี ในปลายทศวรรษ 80 เช่นเดียวกับคู่เปรียบตัวสำคัญ โพร์เช 911 ทาร์กา ดังปรากฏในฉากแข่งรถจากภาพยนตร์ “Against All Odds” ซึ่งแสดงตัวตนของ แฟร์รารี เปิดประทุน (Gran Turismo Spider) ได้อย่างสุดโรแมนทิค

เป็นรถในยุคที่กฎหมายความปลอดภัย ขัดขวางสปอร์ทเปิดประทุนแท้ตามแบบรถยุค 60 การผนวกเอา Roll Over Bar เพื่อความปลอดภัยเข้าไว้ในดีไซจ์นของรถ จึงเป็นทางเลือกของทุกบริษัท 

ด้วยรูปทรงที่แสนโดดเด่น จีทีเอส ยังเป็นขวัญใจของหนุ่มๆ ทั่วโลกจากบทพาหนะของพระเอกมาดแมน ทอม เซลเลค ในซีรีส์โทรทัศน์ของ CBS เรื่อง Magnum P.I.